วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การทำวัคซีนให้กับสุนัข

การทำวัคซีนให้กับสุนัข
- ระบบภูมิคุ้มกัน
- ชนิดของวัคซีน
- การกระตุ้นวัคซีน
- วิธีการให้วัคซีน
- จะให้วัคซีนเมื่อใด
- การให้วัคซีนและสังคม
 
ระบบภูมิคุ้มกัน
คน เราอยู่ภายใต้การบุกรุกของเชื้อจุลินทรีย์นับล้านชนิด ซึ่งอาศัยอยู่ในโลกของเรา ดังนั้นจะต้องหาบางอย่างสามารถ ต่อต้านเชื้อเหล่านี้อย่างได้ผลเพื่อให้อยู่รอด สุขภาพที่ดีจะมาจากกระบวนการป้องกันของร่างกายซึ่งจะทำงานตลอดเวลา ผิวหนังจะเป็นด่านป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ได้ เยื่อเมือกในจมูกจะช่วยจับสารแปลกปลอมที่สูดเข้าไปแล้วจะไอเพื่อขับเชื้อออก มา เมื่อคอและกล่องเสียงระคายเคืองและเพื่อไม่ให้เชื้อเข้าไปถึงปอดได้ ความเป็นกรดของกระเพาะอาหารสามารถฆ่าเชื้อได้ และปริมาณของสารคัดหลั่งจากลำไส้เล็กก็สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เชื้อบางชนิดก็ถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านทาง อุจจาระและปัสสาวะ ขณะที่ตับจะทำหน้าที่ทำลายสารพิษที่ถูกสร้างขึ้นจากแบคทีเรีย กระบวนการป้องกันตัวนี้จะเหมือนกัน ในคนและสัตว์ซึ่งจะทำงานได้ดีเมื่อสุขภาพดี แต่จะทำงานได้ไม่ดีถ้าร่างกายทรุดโทรม กินอาหารน้อย ร่างกายอ่อนแอ หรือเมื่อมีสภาวะจิตใจและร่างกายเกิดความเครียด เมื่อเชื้อโรคผ่านเข้ามาในร่างกายได้แล้ว ร่างกายก็จะมีแหล่งที่จะต่อต้าน เชื้ออีกด่านหนึ่งคือระบบภูมิคุ้มกันซึ่งจะมีตัวแอนตีบอดีเป็นอาวุธที่สำคัญ ที่มีความเฉพาะในการเข้าไปกำจัดผู้รุกรานที่เข้ามาให้หมดไป
 
ลูกสุนัข
                ลูก สุนัขมีระบบภูมิคุ้มกันเป็นของตัวเองตั้งแต่เกิด แต่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ธรรมชาติจัดการให้หาทางเพิ่มแอนติบอดี โดยเอามาจากแม่ เรียกว่า Passive antibody เนื่อง จากลูกสุนัขไม่ได้สร้างขึ้นเอง ภูมิคุ้มกันที่มาจากแม่นี้ ลูกสุนัขได้รับตั้งแต่อยู่ในมดลูกจำนวนเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ได้รับจากนมน้ำเหลือง (Colostrum) ซึ่ง เป็นนมแรกของแม่ที่ผลิตได้ แอนตีบอดีจากนมน้ำเหลืองจะสามารถดูดซึมโดยลูกสุนัขในช่วงวันแรกหลังคลอดเท่า นั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นเมื่อคอกมีขนาดใหญ่หรือการคลอดยาวนานมาก ลูกสุนัขตัวแรก ๆ เท่านั้นที่ได้กินนมน้ำเหลืองมากกว่าตัวที่เกิดหลังดังนั้น ความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคก็จะไม่เท่ากันในคอกเดียวกัน
แอนติบอดี ที่แม่ผ่านมาให้ลูกจะสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ถ้าแม่สุนัขเคยประสบภัยเชื้อ หรือได้รับวัคซีนนั้นมาแล้ว ถ้ามันอาศัยอยู่ในที่ปลอดเชื้อหรือป้องกันตัวอย่างดีไม่ให้สัมผัสสุนัขตัว อื่น และไม่เคยทำวัคซีน มันก็จะไม่มีความต้านทานผ่าน ไปให้ลูกได้ลูกสุนัขจะอ่อนแอและติดเชื้อโรคอันตรายในสุนัขตั้งแต่ยังเล็ก อยู่
ถึง แม้ว่าแม่สุนัขปกติจะถ่ายถอด ภูมิต้านทานไปให้ลูกผ่านทางนมน้ำเหลือง ภูมิต้านทานชนิดนี้จะตกลงค่อนข้างเร็ว ในความเป็นจริงปริมาณของเลือดจะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ สัปดาห์ ดังนั้นลูกสุนัขต้องพัฒนาการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเองเรียกว่า Active immunity” ซึ่งจะได้จากการที่ลูกสุนัขสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือจากการฉีดวัคซีน ถ้ามันต้องการจะมีภูมิต้านทาน โรคตลอดไป
 
สุนัขโต
             โรคเกือบทุกชนิดที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคจะมีสารประกอบโปรตีนเป็นพื้นฐาน ร่างกายที่สมบูรณ์จะป้องกันโปรตีนที่แปลกปลอมเข้ามาด้วยตัวเอง และกำจัดออกไปโดยการสร้างแอนติบอดีที่เฉพาะสำหรับผู้รุกราน active immunity เหล่านี้(สร้างจากตัวสัตว์เอง) จะถูกสร้างขึ้นมาโดยเม็ดเลือดขาวที่เฉพาะ ซึ่งพบได้มากในต่อมน้ำเหลืองและม้าม
ครั้งแรกที่ร่างกายได้สัมผัสกับเชื้อหรือวัคซีน active antibody จะ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ในการสร้างแอนติบอดี แต่ครั้งต่อไปที่เชื้อโรคเข้ามาสัมผัสโดยตรงเซลล์ที่จำได้จะเข้ามาสร้าง แอนติบอดีอย่างรวดเร็ว เพื่อที่ว่าเชื้อโรคจะไม่มีโอกาส ได้เพิ่มจำนวนเลย นี่คือที่ว่าทำไมบางโรคเกิดในคนและสัตว์ครั้งเดียวแล้วไม่เกิดขึ้นอีกเลย ชั่วชีวิต ยกตัวอย่างเช่น โรคหัดใสคน เป็นเพียงโรคเดียวที่คนสัมผัสกับโรคแล้วจะมีภูมิต้านทานโรคนี้ตลอดชีวิต
แอนติบอดี มีความจำเพาะเจาะจงมากและจะทำร้ายเฉพาะแอนติเจนที่มากระตุ้นให้สร้างเท่า นั้น ตัวอย่างเลือดที่เก็บจาก สุนัขและนำมาตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแสดงถึงสุนัขมีแอนติบอดีที่เฉพาะต่อ โรคอยู่ในกระแสเลือดและวิธีการสามารถอธิบายระหว่างแอนติบอดีได้ถูกสร้างขึ้น มาก่อนเพื่อรอเชื้อโรค หรือถูกผลิตขึ้นเฉพาะเวลามีเชื้อเท่านั้น ระดับของแอนติบอดี จะลดลงตามเวลาแต่การที่มีเชื้อเข้ามาสัมผัสด้วยแอนติเจนอันเดิมจะทำให้สร้าง แอนติบอดีสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ชนิดวัคซีน
             ตั้งแต่เราไม่ต้องการให้สุนัขทนทานต่อโรคโดยการพัฒนาการป้องกันตัวด้วยตัวเองเราก็หันมาพัฒนา active immunity โดย การทำวัคซีน นี่เป็นการใช้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยการใช้ตัวเชื้อจำนวนน้อย ขนาดอ่อน ๆ ทำให้ร่างกายสามารถ สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้
วัคซีนแบ่งเป็น 4 ชนิด
1) Attenuated living vaccine (วัคซีนเชื้อเป็น)
เชื้อ แบคทีเรียและไวรัสสามารถปรับให้ลดความรุนแรงของโรคลงแล้วนำไปกระตุ้นให้ร่าง กายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง เป็นการทำให้เชื้ออ่อนแรง และมักเป็นการนำเชื้อมาเลี้ยงในสัตว์ที่ไม่ติดเชื้อในธรรมชาติ เช่นในไข่ฟัก, สัตว์ชนิดอื่น, หรือเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงปริมาณของการทำให้อ่อนแรงขึ้นกับเชื้อจะอยู่ได้นาน เพียงไรในระบบที่สร้างขึ้น
ข้อ ดีของวัคซีนเชื้อเป็นนี้คือฉีดเพียง 1 ครั้งภูมิคุ้มกันก็จะขึ้นสูง สุนัขที่ฉีดวัคซีนแล้วจะไม่พบว่าปล่อยเชื้อ ไปหาสุนัขตัวอื่น ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันไขหัดสุนัข ถ้าไม่เป็นเช่นนี้แล้วเชื้อที่ปล่อยออกมากับวัคซีนอาจจะก่อ ความรุนแรงได้เมื่อสัตว์ได้รับและถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็จะมีความเสี่ยงว่าความก่อโรคกำลังจะกลับมาทำให้เกิดโรคได้ ดังนั้นการทำวัคซีนจะดีกว่าที่ไม่ได้ทำ
2) วัคซีนเชื้อตาย (Killed vaccine)
ทำ จากเชื้อที่ผ่านการทำให้ตายด้วยความร้อนหรือสารเคมี เช่น ฟอร์มาลิน ถึงแม่ว่ามันจะไม่สามารถเพิ่มจำนวน ได้ในการฉีดวัคซีนแต่ว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ดีนัก อย่างไรก็ดีการฉีด 2 ครั้ง มีความจำเป็นและสารที่ผสมเข้าไป ควรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนด้วยที่สำคัญการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเองของ วัคซีนเชื้อตายนั้นไม่ยาวนานนักแต่ข้อดีคือความปลอดภัยสูง
3) Toxoids
เชื้อบางชนิดจะสร้างสารพิษขึ้นมาเรียกว่า ท็อกซิน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ตายปฏิกิริยาของร่างกาย เมื่อได้รับ ท็อกซินคือจะสร้าง anti-toxin ขึ้นมาต่อต้านหักล้างกับ toxin ดังนั้นการกระตุ้นให้สร้าง anti-toxin ขึ้นมาทำได้โดยการฉีด toxoid ซึ่งเป็น toxin ที่ทำให้ฤทธิ์หมดไป toxoid ผลิตได้จากนำท็อกซินไปผ่านความร้อนหรือสารเคมี เพื่อให้หมดความรุนแรงแล้วนำไปฉีดเข้าร่างกายกระตุ้นให้สร้าง anti-toxin ขึ้นมา ควรจะฉีดกระตุ้นเป็นประจำทุก 1, 2 และ 3 ปี ตัวอย่างของ toxoid ที่มีอยู่คือ tetanus toxoid
4) วัคซีนรวม
เป็น การรวมผลิตวัคซีนจากเชื้อหลายชนิดมาผสมรวมกันเพื่อให้ป้องกันโรคได้หลายโรค วัคซีนรวมอาจประกอบด้วย เชื้อเป็น 2 ชนิด และเชื้อตายหลายชนิด หรือใช้เชื้อเป็นและเชื้อตายคู่กัน ข้อดีของวัคซีรวมคือใช้ควบคุมโรคได้ หลายชนิดโดยการฉีดเพียงเข็มเดียว
 
การกระตุ้นวัคซีน
             ภูมิ ต้านทานที่เกิดจากวัคซีนนั้นไม่ยาวนานเท่าภูมิคุ้มกันจากการสัมผัสเชื้อตาม ธรรมชาติ ดังนั้นการกระตุ้นวัคซีนมี ความจำเป็นเป็นระยะๆ จะมีระยะห่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดโรคและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ สุนัข ที่ถูกเลี้ยงในที่สะอาด และพื้นที่จำกัดแยกจากตัวอื่นไม่เคยออกแสดงหรือถูกฝึกสอนเลยจะต้องการ กระตุ้นวัคซีคมากกว่าสุนัขที่ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
 
วิธีการให้วัคซีน
                วัคซีน โดยทั่วไปจะให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ แต่ในกรณีที่ต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ก็จะให้เข้าทางอื่น เช่น วัคซีนโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือ Kennel cough จากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella bronchiseptica จะ ให้โดยการหยอดจมูก วิธีการนี้จะกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะส่วนทางเดินหายใจส่วนต้นภายใน 2-3 วัน แล้วตามด้วยสร้างแอนติบอดีในกระแสเลือดภายหลัง
 
จะทำวัคซีนเมื่อใด
                มีจุดมุ่งหมายชัดเจนที่ต้องการสร้าง active antibody” โดย การฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในลูกสุนัขแต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่เฉพาะเหตุผลจากภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ที่ช่วยป้องกันโรคได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึง การป้องกันการตอบสนองของวัคซีนที่ไม่เหมาะสมด้วย แต่มีช่องโหว่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันให้เห็นซึ่งลูกสุนัขไม่ได้รับ ภูมิคุ้มกันจากแม่เพียงพอที่จะต่อสู้กันเชื้อโรคได้แต่เพียงพอที่จะป้องกัน ประสิทธิภาพของวัคซีน มีความพยายามอย่างมาก ที่คิดผลิตสเตรนของวัคซีนและโปรแกรมการทำวัคซีนที่ทำให้ระยะที่ไม่ปลอดภัย นี้เหลือสั้นที่สุด
ภูมิ คุ้มกันที่รับจากแม่จะลดลงครึ่งหนึ่งทุกอายุ 7-8 วัน ดังนั้นระยะเวลาของภูมิคุ้มกัน ในลูกจะขึ้นกับปริมาณที่ได้รับจากแม่ ซึ่งก็ขึ้นกับระดับของภูมิคุ้มกันในแม่ว่ามีสูงหรือต่ำ ปกติแล้วลูกสุนัขเพียง 77% เท่า นั้นที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ ในระดับที่พอเพียงภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ดังนั้นอายุที่เหมาะสม ในการทำวัคซีนลูกสุนัขจึงไม่เท่ากัน ถึงแม้จะมาจากครอกเดียวกัน ลูกสุนัขกำพร้าที่ไม่ได้ รับนมน้ำเหลืองเลย ตามหลักทฤษฎีแล้วต้องทำวัคซีนตั้งแต่แรกเกิด แต่ว่าเราจะทำเมื่ออายุ 3-6 สัปดาห์ เพื่อรอให้ระบบภูมิคุ้มกันเจริญเต็มที่ก่อน
อายุ ที่เหมาะสมสำหรับทำวัคซีนไข้หัดสุนัข มีการทดสอบอย่างละเอียดโดยเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ ทางห้องปฏิบัติการ ทำให้ได้มาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับเวลาในการทำวัคซีนจนกระทั้งการเข้ามาของโรค พาร์โวไวรัสในสุนัข
ในรายของไข้หัดสุนัขแสดงให้เห็นว่า ลูกสุนัข................
1) ที่อายุ 6 สัปดาห์มี 30 เปอร์เซนต์ที่ไม่มี maternal antibody
2) ที่อายุ 8 สัปดาห์มี 65 เปอร์เซนต์ที่ไม่มี maternal antibody
3) ที่อายุ 12 สัปดาห์มี 98 เปอร์เซนต์ที่ไม่มี maternal antibody
ดังนั้นถ้าลูกสุนัขได้รับวัคซีนไข้หัดสุนัขที่อายุ 6 สัปดาห์ จะมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ตอบสนอง จาก
ภาพ ที่เห็นนี้คงจะพอมองออกว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมอยู่ตรงไหน การทำวัคซีนที่อายุ 6-8 สัปดาห์ จะมีประมาณครึ่งหนึ่ง ที่พร้อมได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ขณะที่ครั้งที่ 2 ทำวัคซีนเมื่ออายุ 12 สัปดาห์และทำช้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 1 ปี อาจเห็นว่าเมื่อฉีดวัคซีนที่อายุ 8 และ 12 สัปดาห์แล้วจะมีบางส่วนเสียทิ้งไป เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกัน จากแม่เหลืออยู่แต่สูตรนี้จะทำให้ลูกสุนัขรอดตายสูง จนถึงเวลาออกขาย แต่ปัญหาของช่องโหว่ของระบบภูมิคุ้มกันก็ยังมีอยู่ แต่ว่าวิธีการดังกล่าวนี้ส่งผลเสียน้อยที่สุด
ใน รายของพาร์โวไวรัสจะอยู่ในสภาวะที่ซับซ้อนมากกว่า เพราะแม่สุนัขที่ได้รับเชื้อนี้มาก่อนจะมีแอนติบอดี ในระดับสูงมาก ลูกสุนัขที่เกิดมาจะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ในระดับที่สูงเช่นกัน อาจอยู่ได้นานถึง 20 สัปดาห์ ถ้าแม่สุนัขมี ภูมิคุ้มกันถ่ายทอดมายังลูกไม่สูงนักก็สามารถทำวัคซีนได้ที่ 6 สัปดาห์ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีความแปรปรวนมาก จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องฉีดวัคซีนหลายครั้ง
อย่าง ไรก็ดีในปี 1986 ได้มีการคิดค้นวัคซีนพาร์โวไวรัสเชื้อเป็น ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันใน ขณะที่ลูกสุนัขยังมีภูมิคุ้มกันจากแม่ในระดับต่ำ ทำให้โปรแกรมวัคซีนสิ้นสุดภายใน 12 สัปดาห์ ซึ่งสัตวแพทย์มักจะแนะนำวิธีนี้
สัตวแพทย์ จะวางโปรแกรมวัคซีน โดยประเมินจากสภาวะโรคในพื้นที่นั้น ๆ จากประวัติคอก หรือดูจากผลการตรวจเลือดด้วย จากการศึกษาโรคพาร์โวไวรัส พบว่าในฟาร์มที่มีเชื้อนี้อยู่แล้วจะทำให้ภูมิคุ้มกันจากแม่ ลดลงอย่างเร็วกว่าที่คาดไว้ จึงจำเป็นต้องแยกลูกสุนัขออกเลี้ยงต่างหากเพื่อรอทำวัคซีน
หลัง จากฉีดวัคซีนแล้วสุนัขบางตัวอาจรู้สึกขาดสีสันไป 2 ถึง 3 วัน และบางตัวอาจจะพบมีการอักเสบบริเวณที่ฉีดบ้าง ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้พาไปพบสัตวแพทย์ที่ฉีดวัคซีนให้ ผลข้างเคียงที่พบภายหลังได้แก่ blue eye ในสุนัข Afghan ถ้าฉีดเข็มก่อนหน้านี้เกิดปัญหาเดียวกันคือตาขุ่นให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์ที่ฉีดทันทีอย่ารอช้า วัคซีนโรคตับอักเสบติดต่อจาก CAV-2 ก็พบอาการข้างเคียงเกี่ยวกับการมองเห็นเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันนิยมทำวัคซีนรวม ซึ่งปลอดภัยและได้ผลดีในการป้องกันโรคสำคัญ 5 โรคในสุนัขได้แก่ ไข้หัดสุนัข พาร์โวไวรัส ตับอักเสบติดต่อ เลบโตสไปโรซิส และKennel cough
ดัง ที่กล่าวมาแล้วในบทนี้ ถึงสภาพที่ซับซ้อนและสัตวแพทย์จะพิจารณาดูปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อเลือกวัคซีนที่เหมาะสมกับสุนัขที่สุด มีข้อพิจารณาปิดท้ายดังนี้
1) อย่าลืมกระตุ้นวัคซีนเพื่อให้การสร้างภูมิคุ้มกันต่อเนื่องและยาวนาน
2) สุนัข ที่ฝากเลี้ยงจะต้องผ่านการทำวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อสำคัญมาแล้ว ถ้าคุณยังไม่มีใบรับรองวัคซีนคุณต้องไปปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน 1 เดือน
 
การทำวัคซีนกับสังคม
             การเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์และสุนัขอย่างหนาแน่นเป็นความกดดันใหม่สำหรับ สุนัขและเจ้าของ มีความต้องการอย่างสูงที่จะให้จำกัดสุนัขอยู่ในสังคมเพื่อให้รบกวนคนที่ไม่ ชอบสุนัขน้อยที่สุด
เจ้า ของลูกสุนัขทั้งหลายควรปรึกษาการทำวัคซีนและพฤติกรรมหนีเสือปะจรเข้กับ สัตวแพทย์ก่อน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งก่อนที่จะหาสัตว์เลี้ยงมา การตัดสินระหว่างเลี้ยงลูกสุนัขแยกจากสังคมเลย จนกระทั่งถึงเวลาทำวัคซีน หรือเริ่มให้ลูกสุนัขได้ร่วมอยู่ในสังคมก่อนได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่จำ เป็น จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยซึ่งควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนดังนี้
1) อารมณ์ของสุนัขแต่ละพันธุ์ ของลูกสุนัขและของพ่อแม่
2) สถานะทางครอบครัว สถานที่สำหรับสุนัข และสุนัขที่เลี้ยงไว้ก่อนหน้านี้มีพฤติกรรมอย่างไร
3) สภาวะโรคในพื้นที่ แหล่งที่มาของลูกสุนัข ประวัติการทำวัคซีนและระดับภูมิคุ้มกันในแม่ (ถ้ามี)
4) ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค คิดเสมอว่าจะเก็บสุนัขไว้อย่างไรและโรคระบาดจะเข้ามาทางไหนได้บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น