วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความชอบอาหารของสุนัขที่อเมริกาจะต่างจากของสุนัขที่ปารีสไหม

บริษัท Waltham Center for Pet Nutrition กล่าวว่า ความชอบอาหารของสุนัขนั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงของเจ้าของ สำหรับหลายๆคนที่ทานขนมปังกับกาแฟเป็นอาหารเช้าประจำ คงรู้สึกแปลกๆถ้าจะให้เปลี่ยนไปกินซุปปลาเป็นอาหารเช้าแทน  แล้วสุนัข กับแมวหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆจะเหมือนคนหรือเปล่า? สุนัขกับแมวในอังกฤษ นั้นชอบกินอาหารต่างจากเพื่อนๆ ของพวกเค้าที่อยู่ในญี่ปุ่น อเมริกา หรือฝรั่งเศส งั้นหรือ? คำตอบที่คุณจะพบได้ต่อไปน่าจะทำให้คุณประหลาดใจได้ไม่น้อย
                ตาม ที่บริษัท Waltham Center for Pet Nutrition (WCPN) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นต้นวิธีการดูแลและโภชนาการสัตว์เลี้ยงระดับโลก กล่าวไว้ว่า ความชอบอาหารของสัตว์นั้นมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของผู้เป็นเจ้าของ
                “คน ที่เป็นเจ้าของสุนัขมักจะนึกเอาเองเสมอว่า อะไรที่เราอยากกินสุนัขกับแมวก็คงอยากกินแบบเดียวกัน แล้วท้ายที่สุดเราก็จะเป็นคนเลือกว่าเขาจะได้กินอะไร” นาย เจมส์ โซโคโลวสกี้ DVM, Ph.D., ผู้จัดการส่วนงานสัตว์ภิบาลและการติดต่อสื่อสาร ของ Waltham Center Inc. กล่าว “ในประเทศญี่ปุ่น ปลาและอาหารทะเลเป็นอาหารหลักของคน ดังนั้นอาหารแมวก็จะเป็นมีรสหอยกับปลาหมึกคาระมาริด้วย ในขณะที่ในยุโรป เจ้าของสุนัข จะให้อาหารที่มีรสและกลิ่นของเนื้อเป็ดกับกระต่าย ซึ่งใกล้เคียงกับอาหารที่คนแถวนั้นกินกัน”
                ในเรื่องของรสชาตินั้น เจ้าของสุนัขและแมวจะคิดกันเอาเองว่า โดยธรรมชาตินั้น“แมวทุกตัวชอบปลา และสุนัขทุกตัวชอบเนื้อ”  แต่ ในความเป็นจริงนั้น อาหารที่สัตว์เลี้ยงของเราชอบกินก็คืออาหารที่เค้าเคยชิน ยกตัวอย่างเช่น ไม่ใช่แมวทุกตัวที่ชอบกินปลา เพียงแค่แมวจำนวนมากเท่านั้นในญี่ปุ่นที่ชอบกินปลา เพราะแมวจำนวนนี้ได้รับอาหาร ที่เป็นปลามาตั้งแต่แรก สุนัขก็เช่นกันสุนัขในเม็กซิโกจะสามารถรับมือกับอาหารแบบเผ็ดๆได้ แม้กระทั่งว่าให้กินพริกก็ยังกินได้ ทั้งนี้เพราะสุนัขเหล่านี้ได้รับอาหารจากผู้เป็นเจ้าของแบบเดียวกันมา ตั้งแต่ต้น แต่สุนัขในสายพันธุ์เดียวกันที่อยู่ใน ประเทศอังกฤษจะไม่กินอาหารรสจัดขนาดนั้นเพราะไม่เคยชิน การให้อาหารสุนัขและแมวที่มีเนื้อเป็นส่วนประกอบหลักนั้น กลับได้รับความนิยมในทวีปยุโรป แต่สุนัขในอินเดียจะไม่กินเนื้อเลย เพราะสุนัขที่นั่นจะไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาบูชากัน

บทบาทของธรรมชาติ
                ตาม ที่กล่าวมาแล้ว นอกจากเจ้าของจะเป็นคนกำหนดว่าสุนัขจะกินอะไรแล้ว พันธุกรรมของสุนัขก็ยังเป็นอีกปัจจัย หนึ่งทีเป็นตัวกำหนดความชอบของเขาด้วย ทำให้หมาแมวทั่วโลกมีความชอบบางอย่างที่เหมือนกัน ในการศึกษาโดยแบ่งแมว ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นแมวที่กินปลาอยู่เป็นประจำ กับอีกกลุ่มไม่เคยกินปลามาก่อน  ปรากฎว่าปริมาณ การตอบรับหรือปฎิเสธปลาไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มนี้ 
                เป็น ที่รู้กันว่า สุนัขนั้นค่อนข้างอะลุ้มอล่วย ในขณะที่แมวทั้งโลกกลับมีชื่อทางด้านความช่างเลือก แมวบางตัวกลับ ไม่ยอมฃกินอาหารซ้ำติดกันสองมื้อ และบางตัวเลือกที่จะอดดีกว่าจะต้องกินอะไรที่ไม่ชอบ                มี งานค้นคว้าและวิจัยจาก WCPN ที่สำคัญมากๆอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งแสดงผลจากการวิจัยว่า แม้เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะไม่ได้เจตนาที่จะกำหนด ให้สุนัขหรือแมวชอบหรือไม่ชอบกินอะไรอย่างที่ตัวเองต้องการ แต่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ชอบกินอะไรก็ตามที่เจ้าของป้อนให้กับมือ นั่นเอง
                “การ ได้รับความสนใจจากเจ้าของ และปฏิกิริยาที่สัตว์เลี้ยงมีต่อผู้เป็นเจ้าของกลับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อสัตว์เลี้ยง มากกว่าอาหาร” โซโคโลวสกี้ กล่าว “ดังนั้นคุณควรแสดงความรับกับสุนัขอย่างถูกวิธีโดยการให้อาหารที่เหมาะกับ เขา อาหารที่เหลือจากโต๊ะนั้นไม่เหมาะสำหรับสุนัข การเล่นสนุกกับเค้าแบบให้ได้ออกกำลังกันบ้าง ลงไปกอดรัดฟัดเหวี่ยงกันบ้าง นับเป็นอาหารทางใจให้กับสัตว์เลี้ยง ซึ่งดีกว่าอาหารเหลือบนโต๊ะเป็นไหนๆ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น